ขอแสดงความยินดีกับนักเรียนที่ได้รับรางวัล Junior Young Rising Stars of Science Award 2021

โครงการ วมว.มธ.-สกร. ขอแสดงความยินดีกับนักเรียนที่ได้รับรางวัล
Junior Young Rising Stars of Science Award 2021
จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์

 

          สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างบุคลากรด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรุ่นใหม่ เพื่อให้ก้าวต่อไปเป็นนักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยีที่มีความสามารถสูงของประเทศ นำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศได้อย่างยั่งยืน สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยฯ จึงจัดให้มีรางวัล Junior Young Rising Stars of Science เพื่อมอบให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมปลายที่ทำโครงการวิจัยวิทยาศาสตร์ ภายใต้ความดูแลและ
รับผิดชอบของ คณะวิทยาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ที่มีผลงานโดดเด่นในแต่ละปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เป็นครั้งแรก
นอกจากเป็นการเชิดชูเกียรติของนักเรียนเหล่านี้แล้ว ยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดความสนใจที่จะศึกษาต่อใน ระดับปริญญาบัณฑิตในด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งคาดหวังว่าเยาวชนเหล่านี้จะเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือนักเทคโนโลยีที่มี ความสามารถสูงในระดับประเทศหรือในระดับสากลได้ต่อไป

          ในปี พ.ศ. 2564 นักเรียนโครงการ วมว.มธ.-สกร. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (รุ่นที่ 5) จำนวน 6 คน ( 3 กลุ่มโครงงานวิทยาศาสตร์) ได้รับรางวัล Junior Young Rising Stars of Science Award 2021 จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ดังรายนามต่อไปนี้

?น.ส.ชญานิศ ปันจักร์ และ น.ส.มิ่งขวัญ อันนา วสันต์รักษ์
    – โครงงาน : Development of tool for estimating Alzheimer’s disease risk by using miRNA as biomarker
    – อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ภูภิภัทร ใจแก้ว และ อาจารย์ ดร.ศศิพร ทองแม้น
? นายนิธิกร พูนเดชาลาภ และ นายภูผา สุวรรณเอนก
     – โครงงาน : Development and the shelf life study of Oil-based formulation of Trichoderma sp. as biocontrol agent
    – อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ ดร.ธีรวัฒนา ภาระมาตย์ รศ.ดร.เทพปัญญา เจริญรัตน์ และ ผศ.ดร.ชนิตโชต ปิยพิทยานันต์
? นายธนกร เฮงสุนธร และ น.ส.พิมพ์วลัญช์ เกษรบุบผา
     – โครงงาน : Protein hydrolysate from soy-milk residue as an alternative nitrogen source for Aurantiochytrium sp. cultivation
     – อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.สุเปญญา จิตตพันธ์ และ รศ.ดร.เทพปัญญา เจริญรัตน์

และนักเรียนได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานรูปแบบโปสเตอร์เป็นภาษาอังกฤษ ในงาน The 47th International Congress on Science, Technology and Technology – based Innovation (STT47) แบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ วันที่ 5 – 7 ตุลาคม 2564

บทความที่เกี่ยวข้อง