ขอแสดงความยินดีกับนักเรียนและอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ที่ได้รับรางวัลจากการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 24 (YSC 2022) รอบนำเสนอผลงาน (รอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาค) ภาคกลางและภาคตะวันออก

โครงการ วมว.มธ.-สกร. ขอแสดงความยินดีกับนักเรียนและอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
ที่ได้รับรางวัลจากการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 24 (YSC 2022)
รอบนำเสนอผลงาน
(รอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาค) ภาคกลางและภาคตะวันออก

 

ผลการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 24 (YSC 2022) รอบนำเสนอผลงาน (รอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาค)

ในปีนี้นักเรียนโครงการ วมว.มธ.-สกร. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (รุ่น 6) สามารถคว้ารางวัลจากการประกวดโครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 24 (YSC 2022) รอบนำเสนอผลงาน (รอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาค) ได้ถึง 5 โครงงาน โดยได้รับรางวัลชนะเลิศระดับภูมิภาคและได้รับสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ระดับประเทศ จำนวน 1 โครงงาน และได้รับรางวัลเกียรติบัตรเหรียญทองระดับภูมิภาค จำนวน 4 โครงงาน ทางโครงการฯ ขอแสดงความยินดีกับนักเรียนและอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานทุกท่าน และขอเป็นกำลังใจให้กับนักเรียนในการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ระดับประเทศต่อไป

? รางวัลชนะเลิศระดับภูมิภาค ภาคกลางและภาคตะวันออก

  • โครงงาน “การศึกษาโครงสร้างทางเรขาคณิตของวัสดุรับเเรงกระเเทกจากการพับกระดาษในรูปเเบบก้างปลาเฮอร์ริ่งทเเยงมุม”
    ผู้พัฒนา : นางสาวภาณุมาศ รุ่งเรืองไทรงาม นายภูริต เวชมนัส และนายปาณัสม์ พิมพ์โคตร
    อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์อรรถวุฒิ วงศ์ประดิษฐ์

 

?รางวัลเกียรติบัตรเหรียญทองระดับภูมิภาค

  • โครงงาน “ชุดอุปกรณ์ตรวจสอบความปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในน้ำแบบพกพา”
    ผู้พัฒนา : นายกลย์ธัช ดุษฎีกุลชัย นายกิตติธัช กันตอนันตพร และนายปณัฐ สุวรรณสิงห์
    อาจารย์ที่ปรึกษา : ผศ.ดร.เรวัตร ใจสุทธิ

  • โครงงาน “การพัฒนาถุงใส่มือถือจากเปลือกทุเรียน ”
    ผู้พัฒนา : นางสาวนิตย์รดี วิชัยยา นายปพนวัฒน์ เชี่ยวรุ่งโรจน์ และนายชาติปวีณ์วัฒน์ สมสุขสวัสดิ์กุล
    อาจารย์ที่ปรึกษา : รศ.ดร.สอาด ริยะจันทร์

  • โครงงาน “การพัฒนาถ่านกัมมันต์จากส่วนต่างๆของเปลือกทุเรียนเพื่อใช้เป็นวัสดุขั้วไฟฟ้าของตัวเก็บประจุยิ่งยวด”
    ผู้พัฒนา : นางสาวญาณิศา สิทธินันทน์ และนายวัฒนพล ดังก้อง
    อาจารย์ที่ปรึกษา : ดร.เจษฎา แม่นยำ

  • โครงงาน “การวินิจฉัยโรคมะเร็งมัยอีโลมาโดยใช้แบบจำลองการเรียนรู้ด้วยเครื่อง Machine Learning Model”
    ผู้พัฒนา : นายพงศ์ภรณ์ อินทร์พันธุ์ นางสาวณศิรา ชาญณรงค์ และนางสาวสุพิชฌาย์ ทวีธัญญ์
    อาจารย์ที่ปรึกษา : อาจารย์ภูภิภัทร ใจแก้ว

(cr. ประกาศผล YSC2022 ภาคกลางและภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ https://www.youtube.com/watch?v=_XYTjfHVkc4)

บทความที่เกี่ยวข้อง