หอพัก

หอพักนักเรียนโครงการ วมว.มธ.-สกร. โครงการ วมว.มธ.-สกร. ได้ดำเนินการจัดหอพักสำหรับนักเรียนประจำ โดยแยกนักเรียนชายและนักเรียนหญิง พร้อมจัดให้มีครูหอพักดูแลอย่างใกล้ชิด ตลอด 24 ชม. โดยการพักอาศัยของนักเรียนเป็นการพักอาศัยแยกจากนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่อยู่ในโซนหอพักเดียวกัน หอพักของนักเรียนโครงการ วมว.มธ.-สกร จะเป็นหอพัก E1 และ E2 ซึ่งมีระบบการรักษาความปลอดภัยและการบริการด้านต่างๆ ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานบริหารทรัพย์สินและกีฬา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สิ่งอำนวยความสะดวกภายในห้องพักมี ดังนี้ 1 ห้องนอนพัก 2 คน เป็นเตียงคู่พร้อมหลอดไฟ ปลั๊กไฟส่วนตัว และส่วนกลางภายในห้อง โต๊ะ เก้าอี้ สำหรับการอ่านหนังสือ เป็นมุมส่วนตัวทั้งหมด 2 ชุด (1 ชุด/คน) มีห้องน้ำในตัว พร้อมเครื่องทำน้ำอุ่น 1 เครื่อง ตู้เสื้อผ้า 2 ตู้ (1 ตู้/คน) อินเตอร์เน็ต WIFI ฟรีภายในห้อง ตู้เย็น 1 เครื่อง โทรทัศน์ 1 เครื่อง เครื่องปรับอากาศ 1 เครื่อง…

อ่านเพิ่มเติม

หลักสูตรโครงการ

หลักสูตรโครงการ วมว. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย คู่ศูนย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ – โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต (โครงการ วมว.มธ.-สกร.) ได้พัฒนาหลักสูตรตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งหลักสูตรของโครงการ วมว.มธ.-สกร. มีความโดดเด่นในการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นสากล โดยการลงมือปฏิบัติจริงและใช้หลัก Project – Based Learning ผ่านการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ กระตุ้นให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ สามารถศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และนำไปสร้างประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน เน้นบูรณาการความรู้ระหว่างสาระการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีผ่านการทำโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างต่อเนื่อง หลักการของหลักสูตร โครงการ วมว. มธ.- ส.ก.ร.   หลักการของหลักสูตร โครงการ วมว. มธ.- ส.ก.ร. เป็นไปตามหลักการของหลักสูตรกลางของโครงการ วมว. ซึ่งมีหลักการที่สำคัญดังนี้ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้มีความโดดเด่นในด้านทักษะความรู้ กระบวนการคิดวิเคราะห์ สติปัญญา คุณธรรมและจริยธรรม ครอบคลุมตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการเพิ่มเติมความเข้มข้นของรายวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์เทียบเคียงได้กับหลักสูตรของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และหลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์มาตรฐานสากล ระดัับมัธยมศึกษาตอนปลาย ตามแนวทางของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พุทธศักราช 2555 เพิ่มเติมเนื้อหาสาระของรายวิชา ตามความโดดเด่นทางวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และบริบทของท้องถิ่น เน้นการจัดสาระการเรียนรู้ให้หลากหลายและมีความยืดหยุ่น เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาการเรียนรู้อย่างเต็มความสามารถ ความถนัดและความสนใจของตนเอง จัดให้มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่หลากหลายทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนทั้งในและต่างประเทศ…

อ่านเพิ่มเติม

วิสัยทัศน์-พันธกิจ

ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย รังสิต โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มุ่งจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความรู้ความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์

อ่านเพิ่มเติม

วัตถุประสงค์โครงการ

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาวงการวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยทั้ง 16 แห่ง ได้ร่วมมือกันในการสร้างฐานกำลังคนทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยโดยสนับสนุนการจัดการศึกษาและทุนการศึกษาเต็มรูปแบบ

อ่านเพิ่มเติม

ระเบียบหอพัก

ระเบียบหอพักนักเรียนในโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ วมว. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
(อ้างอิงจากระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยหอพักนักศึกษาและบุคลากร พ.ศ. ๒๕๕๑และนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับนักเรียนในโครงการ ฯ)

อ่านเพิ่มเติม

บุคลากร

โครงการ วมว.มธ.-สกร. ดำเนินงานและควบคุมภายใต้การดูแลของอาจารย์-เจ้าหน้าที่ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต   อาจารย์ ดร.นพรัตน์ พฤกษ์ทวีศักดิ์ ผู้อำนวยการ โครงการ วมว.มธ.-สกร. อาจารย์ ดร.ธีรวัฒนา ภาระมาตย์ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายวิชาการและพัฒนาผู้เรียน อาจารย์ ดร.วรุณธร เชื้อบุญมี รองผู้อำนวยการ ฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม นางสาวอัมพร มะลิซ้อน ครูผู้ช่วยสาขาชีววิทยา นายนิเวช ดีประดิษฐ เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี นายบุญรอด แสงล้ำ นักจิตวิทยาทั่วไป     นางสาววนิศรา วงศ์เขียว นักวิชาการศึกษา      

อ่านเพิ่มเติม

ตราสัญลักษณ์โครงการ

ตราสัญลักษณ์กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม  (เว็บไซต์ : https://www.mhesi.go.th) ตราสัญลักษณ์โครงการ วมว.                (เว็บไซต์ : http://scius.most.go.th) ตราสัญลักษณ์โครงการ วมว. มธ-สกร.    

อ่านเพิ่มเติม

การเรียนการสอน

การพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น จำเป็นต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างฐานความรู้ที่เข้มแข็งให้กับประเทศ และในขณะ ดียวกันกำลังคนของประเทศจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาควบคู่กันไปด้วย โดยเฉพาะกลุ่มนักวิจัยซึ่งเป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนกิจกรรมวิจัยและพัฒนา สำหรับประเทศไทยหากเปรียบเทียบจำนวนบุคลากรวิจัยและพัฒนากับประเทศที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจดังเช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ถือได้ว่ายังมีปริมาณที่น้อยมาก ในปี 2546 ประเทศไทยมีบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา กรณีเทียบเป็นการทำงานเต็มเวลาเพียง 42,379 คน-ปี ในขณะที่ญี่ปุ่นมี 857,000 คน-ปี เกาหลี มี 186,000 คน-ปี ไต้หวัน มี 120,000 คน-ปี ทั้งนี้การเพิ่มจำนวนบุคลากรวิจัยและพัฒนาต้องอาศัยระยะเวลาในการดำเนินการค่อนข้างมาก จำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง และต้องเริ่มดำเนินการตั้งแต่ในระบบการศึกษาเพื่อเตรียมฐานกำลังคนสำหรับอนาคต ดังนั้นในระบบการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีกลไกสนับสนุนเพิ่มเติมจากการศึกษาแบบทั่วไป เพื่อให้ผู้เรียนที่มีศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับการพัฒนาอย่างถูกทางและเหมาะสม ส่งเสริมให้อัจฉริยภาพที่มีอยู่เบ่งบานอย่างเต็มที่ และพัฒนาไปเป็นนักวิจัยที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต โดยจัดการศึกษาที่เฉพาะเจาะจงตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในรูปแบบของห้องเรียนวิทยาศาสตร์ โรงเรียนวิทยาศาสตร์ รวมทั้งจัดกิจกรรมส่งเสริมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันมีการดำเนินการอยู่บ้างแล้ว อาทิ ในรูปแบบโรงเรียนมีโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์เพียงแห่งเดียวของประเทศ รับนักเรียนได้เพียง 240 คน/ปี ในขณะที่การทำห้องเรียนวิทยาศาสตร์ และกิจกรรมเสริมอื่นๆ ยังทำได้ในปริมาณที่น้อยมาก ส่งผลให้นักเรียนที่มีศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในระบบไม่ได้รับการส่งเสริมอย่างเต็มที่จนถูกดึงความสนใจให้ไปศึกษาในสาขาอื่นแทน ซึ่งในระยะยาวจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการสร้างฐานกำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การยกระดับความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศได้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการพัฒนากำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ได้เล็งเห็นว่ากลไกการพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ในระดับเยาวชนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนั้น ไม่เพียงพอต่อการสร้างฐานกำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงระดับที่เป็นมวลวิกฤต (Critical mass) ได้ จำเป็นต้องมีกลไกมาสนับสนุนเพื่อส่งเสริมให้เกิดระบบการจัดการศึกษาที่เอื้อต่อการสร้างกำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี…

อ่านเพิ่มเติม

การรับสมัคร

โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปิดรับสมัครนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่สนใจศึกษาด้านวิทยาศาสตร์-เทคโนโลยีเพื่อเข้าเป็นนักเรียน ม. 4 ของโครงการ ฯ   สำหรับกำหนดการและระยะเวลาของการรับสมัคร การชำระค่าธรรมเนียม การสอบรอบที่ 1 และ 2 และการประกาศผลจะมีการดำเนินการที่ใกล้เคียงกันทุกปี ดังนี้ เปิดรับสมัคร ช่วงระหว่างวันที่ 1 – 31  ของทุกปี สอบคัดเลือกรอบที่ 1 ประมาณเดือน พฤศจิกายน ประกาศผลสอบคัดเลือกรอบที่ 1 ช่วงประมาณเดือน ธันวาคม สอบคัดเลือกรอบที่ 2* ช่วงประมาณเดือน มกราคม ของปีถัดไป ประกาศผลสอบคัดเลือกรอบที่ 2 ช่วงประมาณเดือน กุมภาพันธ์ ดำเนินการยืนยันสิทธิ์เข้าโครงการ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม แจ้งรายละเอียดการเข้าเรียน ฯลฯ ช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม หมายเหตุ ช่วงเวลาที่ระบุด้านบนเป็นแค่เพียงการประมาณเท่านั้น นักเรียนและผู้ปกครองโปรดติดตามข้อมูลในแต่ละปีการศึกษาโดยละเอียด

อ่านเพิ่มเติม